ย้ายมาเปิดดำเนินการ ณ ที่ทำการใหม่ โดยราษฎรในเขตบางแก้วร่วมกันบริจาคเงินซื้อที่ดินจำนวน 25 ไร่เศษ มาตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 609 ม. 1 ต. ท่ามะเดื่อ อ. บางแก้ว จ. พัทลุง
บริบท อำเภอบางแก้วเป็นอำเภอเล็ก ๆ ซึ่งแยกออกมาจากอำเภอเขาชัยสน ในปี พ.ศ. 2533 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2533 ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบางแก้ว โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2533 ต่อมาได้รับการยกฐานะจากกิ่งอำเภอบางแก้วตั้งแต่ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2538
เดิมพื้นที่อำเภอบางแก้วมีชื่อเรียกว่า “โคกแต้ว” หรือ”เกาะแต้ว” ตามชื่อต้นไม้แต้ว และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “บางแก้ว” ตามชื่อคลองสายใหญ่ที่ไหลผ่าน วัดเขียนบางแก้ว (ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเขาชัยสนในปัจจุบัน)บ้านบางแก้ว ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1และหมู่ที่ 6 ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นสุขาภิบาล เมื่อปี พ.ศ.2499 โดยเอาชื่อของตำบลท่ามะเดื่อเป็นชื่อของสุขาภิบาล
เมื่อประมาณปี พ.ศ.2441 ทางการรถไฟได้ทำรางรถไฟสายใต้ต่อจากชุมทางหาดใหญ่ผ่านโคกแต้วไปทางทิศเหนือ เมื่อสร้างทางรถไฟเสร็จแล้วได้จัดสร้างสถานีรถไฟขึ้นชื่อว่า “สถานีรถไฟโคกแต้ว” โดยเอาชื่อคลองสายใหญ่ที่ไหลผ่านวัดตะเขียนบางแก้ว มาเป็นชื่อของสถานีรถไฟ ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านเรียกสถานีแห่งนี้ว่า “บางแก้ว” และในที่สุดชื่อโคกแต้วก็เลือนหายไป
บ้านบางแก้ว เป็นชุมชนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนในยุคที่ประชาชนใช้เส้นทางรถไฟในการ คมนาคมเป็นหลัก ปรากฏหลักฐานว่า เดิมได้มีชาวจีนอพยพครอบครัว และพรรคพวกลี้ภัยการเมืองมาตั้งรกตากอยู่ที่บางแก้ว และได้เห็นสภาพของพื้นที่บางแก้วและนาปะขอ เหมาะแก่การทำนาและเพาะปลูก มีการสร้างโรงสีข้าวขนาดใหญ่ ถึง 3 โรง มีการผลิตข้าวส่งจำหน่ายทั่วภาคใต้จนมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมของประชาชนในนาม ของ “ข้าวบางแก้ว” ต่อมาชุมชนได้ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยชาวบ้านอพยพมาจากบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะจากวัดตะเขียนบางแก้ว และรอบ ๆ และเริ่มมีตลาดสดตลาดบางแก้วขึ้น
ต่อมาสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยรวมของประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการเปลี่ยนแปลงชาวจีนที่อาศัยอยู่เดิมได้แยกย้ายกันไปทำมาค้าขายใน จังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพฯ กอปรกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 สายเพชรเกษมตัดผ่านในพื้นที่ตำบลโคกสัก ซึ่งมีระยะห่างจากตลาดบางแก้ว ออกไปประมาณ 10 กิโลเมตร ประชาชนเปลี่ยนความนิยมจากการเดินทางโดยรถไฟมาใช้บิการรถยนต์มากขึ้น